วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนวการจัดห้องเรียนคุณภาพ เกณฑ์ สพป.ชย.๑



คู่มือและแนวทางการพัฒนา
ห้องเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑




เอกสารหมายเลข ๒ / ๒๕๕๘
กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑
คำนำ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑ ได้จัดทำเอกสาร คู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้  สาระในเอกสารประกอบด้วย หลักการ แนวคิด    และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวคิด  และทิศทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ  จนเกิดเป็นโรงเรียนคุณภาพส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนการจัดทำเอกสารเล่มนี้    ได้รับคำชี้แนะ  จากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต ๑ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และได้รับความร่วมมือด้วยดีจาก  ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและคณะครู หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บังเกิดผลเลิศต่อห้องเรียนและสถานศึกษา
                ขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่านที่ได้ร่วมมือกันจัดทำเอกสารเล่มนี้ขึ้น ขอให้ผู้บริหาร และครูผู้สอน  นำคู่มือและแนวทางการประเมินห้องเรียนคุณภาพสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานให้บังเกิดผลเลิศต่อสถานศึกษาและการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑ ต่อไป


                                                  กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
                                                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑




ห้องเรียนคุณภาพ สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑
๑.  กรอบแนวคิด
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ถือว่าเป็นหัวใจของ
การทำงานเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในฐานะข้าราชการ หากพิจารณาแล้วมีความหมายที่ลึกซึ้งนัก กล่าวคือ
เข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำ
เข้าถึง  หมายถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทาง ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ
พัฒนา หมายถึง การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น  สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ที่เป็นของตน ส่วนนี้ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่จะเปิดทางให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และต่อยอด
ถือว่าเป็นทฤษฎีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่มีคุณค่ายิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ คือ ครู
กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีการติดตามตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการศึกษา
กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต ๑ เป็นองค์กรส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมงานวิจัย แบบมีส่วนร่วม ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่มาตรฐานสากล  และเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา จึงได้กำหนดเป็นนโยบาย ดังนี้
นโยบายการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑
แนวคิดการพัฒนา
๑.  พัฒนาคน
การพัฒนาจิตสำนึก  (จิตวิญญาณ)  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาค่านิยมอุดมการณ์
การสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน
การพัฒนาวิชาชีพ  ตามมาตรฐานวิชาชีพ
การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
๒.  พัฒนางาน
นวัตกรรมในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงาน
การปฏิบัติงานตามคำรับรอง  และตามกลยุทธ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Change  Management)
๓.  พัฒนาผู้เรียน
เก่ง
     -  ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน        
     -   ความสามารถในการแก้ปัญหา
     -  ความสามารถในการวางแผนการเรียนรู้    
     -  ความสามารถตามสมรรถนะของหลักสูตร          
ดี  
     -  มีความรับผิดชอบ    
     -  มีคุณธรรมจริยธรรม  
     -  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด        
มีสุข
    -  สุขภาพกาย  สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขอนามัย  -  สุขภาพจิตดี  มีจิตใจอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส
วิสัยทัศน์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑  ขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษา
อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานการศึกษาชาติ  มุ่งสู่สากล  ภายในปี ๒๕๕๘
ค่านิยม    CPM ๑
C     =     Civilize  :  เจริญงอกงาม      P   =     Performance  :  งานเป็นเลิศ
M    =      Mind    :  เกิดจิตวิญญาณ      ๑   =    One  :  ประสานเป็นหนึ่งเดียว
วัฒนธรรมองค์กร    = ยิ้มแย้มแจ่มใส ใส่ใจบริการ ประสานสัมพันธ์
พันธกิจ
พัฒนา  ส่งเสริม  และสนับสนุนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับ
อย่างมีคุณภาพ  เป็นบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม  มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาชาติ
เป้าประสงค์
๑.  ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒.  ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ๑๕  ปี  อย่างทั่วถึง
   และได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
๓.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มตาม
   ศักยภาพ
๔.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีความเข้มแข็งเป็นกลไกขับเคลื่อน
   การศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลยุทธ์
๑.  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถ
    ด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
๒.  ปลูกฝังคุณธรรม  ความสำนึกในความเป็นชาติไทย  และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา
    เศรษฐกิจพอเพียง
๓.  ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง  ครอบคลุม  ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็ม
    ตามศักยภาพ
๔.  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ  ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้
    อย่างมีคุณภาพ
๕.  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา  เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

แผนภูมิการยกระดับคุณภาพการศึกษา
การยกระดับคุณภาพการศึกษา  เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพห้องเรียน (Quality Classroom) ถือ ว่าเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ตรงเป้าที่สุด เพราะสามารถบอกความสำเร็จและความล้มเหลวของการจัดการเรียนรู้
ได้จริง    
๒.  ห้องเรียนคุณภาพ
ห้องเรียนคุณภาพ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด เป็นแนวทางสำหรับครูโดยตรง  ที่จะเป็นผู้จัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณภาพให้เกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างแท้จริง  ภายใต้แนวทาง  มี  ๕ ประการ คือ
๑) นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ
๒) ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
๓) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research- CAR)
๔) การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน
๕) การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)
ห้องเรียนคุณภาพ  จึงไม่ใช่รู้และเข้าใจ หรือจดจำแนวทางทั้ง ๕ ข้อได้อย่างขึ้นใจเท่านั้น  หากเมื่อครูสามารถทำให้เกิดขึ้น ได้อย่างเป็นรูปธรรม  ย่อมจะเป็นคุณูปการแก่ผู้เรียน ตนเอง  และโรงเรียนเป็นอย่างมาก  การใช้แนวพระราชดำรัสของในหลวง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาทบทวนในแต่ละข้อ ก็จะส่งผลให้งานสอนของครูมีคุณค่าที่สุด  จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก   (ดร.เชาวฤทธิ์  จงเกษกรณ์)





๓.  แนวทางการยกระดับห้องเรียนคุณภาพ สู่สถานศึกษา
สถานศึกษาในที่นี้ หมายถึงโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต ๑ ซึ่งมีบทบาทโดยตรงในการจัดการศึกษา และพัฒนาสู่ห้องเรียนคุณภาพ โรงเรียนมีองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ  บุคลากร  ครู นักเรียน หลักสูตร และสถานที่เรียน  ในด้านบุคลากรประกอบด้วยบุคลากรหลัก ๒ ส่วน คือ ผู้บริหารและครู  การทำให้เกิดห้องเรียนคุณภาพ ของคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ผู้บริหารและครู ควรดำเนินการให้เป็นไป  ดังนี้
๓.๑ คณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาห้องเรียนคุณภาพ
เป็นคณะกรรมการ ที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาห้องเรียนคุณภาพ  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะภาคีเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศเพื่อยกระดับห้องเรียนคุณภาพสู่สถานศึกษา
ทั้ง  ๕ อำเภอ  ประกอบด้วย
๓.๑.๑ ภาคีเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศประจำอำเภอ
  -  เครือข่ายเบญจภาคีนิเทศอำเภอเมือง   ๘   เครือข่าย
- เครือข่ายเบญจภาคีนิเทศอำเภอบ้านเขว้า   ๒   เครือข่าย
- เครือข่ายเบญจภาตีนิเทศอำเภอหนองบัวแดง   ๕   เครือข่าย
- เครือข่ายเบญจภาคีนิเทศอำเภอภักดีชุมพล   ๒   เครือข่าย
- เครือข่ายเบญจภาคีนิเทศอำเภอคอนสวรรค์   ๓   เครือข่าย
       รวมทั้งสิ้น    ๒๐   เครือข่าย
๓.๑.๒ คณะอนุกรรมการเบญจภาคีนิเทศ  ติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ประจำศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  ประกอบด้วย
๑. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  นั้นๆทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ
๒. ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  หรือรองประธานศูนย์  หรือผู้อำนวยการโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  ที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้อำนวยการสถานศึกษาในศูนย์ ฯ ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ
๓. ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศที่ได้รับการคัดเลือก กรรมการ
๔. ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศที่ได้รับการคัดเลือก กรรมการ
๕. ครูผู้สอนชั้นอนุบาลศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศที่ได้รับการคัดเลือก กรรมการ
๖. ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโรงเรียนประจำศูนย์พัฒนาคุณภาพฯ  กรรมการและเลขานุการ
๓.๑.๓ คณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ประจำสถานศึกษา ประกอบด้วย
๑. ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ทำหน้าที่ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ
๒. ผู้อำนวยการโรงเรียน ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการ
๓. ครูผู้สอนในโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก   ทำหน้าที่คณะอนุกรรมการ
๔. ครูวิชาการโรงเรียน   ทำหน้าที่คณะอนุกรรมการและเลขานุการ
  ๓.๒ ผู้อำนวยการโรงเรียน
ในฐานะผู้บริหารจัดการหลักสูตร (Curriculum Manager)  มี ๓ บทบาทที่ต้องพิจารณา  คือ  ๑) การสร้างหลักสูตร  ๒) การใช้หลักสูตร  และ ๓) การประเมินหลักสูตร
  ๑)  การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
ผู้บริหาร  เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาและนำหลักสูตรมาใช้จริง  ต้องการศึกษาวิเคราะห์สภาพข้อมูล  การมีส่วนร่วม  การกำหนดวิสัยทัศน์  เป้าหมาย  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา  การออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้กลุ่มสาระ  การวัดและประเมินผลหลักสูตร  ตลอดจนการอนุมัติใช้หลักสูตรและประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษาแก่สาธารณชนผู้มีส่วนได้เสีย
๒)  การใช้หลักสูตรสถานศึกษา
เป็นการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้  ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องพิจารณาและตัดสินใจมอบหมายให้ครูได้รับผิดชอบในรายวิชาหรือชั้นเรียนตามหลักสูตรอย่างครบถ้วน  เพื่อครูจะได้มีสถานภาพสมบูรณ์ในฐานะเจ้าภาพรับผิดชอบสาระรายวิชาหรือชั้นเรียนที่จะต้องทำการบริหารจัดการต่อไป
เงื่อนไขความสำเร็จ (แนวทาง)  มีดังนี้
(๑)  วางแนวทางการบริหารจัดการ  ได้แก่  การกำหนดเงื่อนไข  นโยบาย ปฏิทินการทำงาน (School Agenda) การส่งงาน กำหนดระเบียบและข้อตกลงร่วมกัน (House Rules) ที่จะทำให้ครูและบุคลากรต้องทำแนวทางเดียวกัน  ที่สำคัญคือ ผู้บริหารได้รับทราบและส่งเสริมความเคลื่อนไหวในการเดินของครูแต่ละก้าวที่มั่นคงต่อเนื่อง
(๒)  กำหนดโครงการพัฒนาการทำงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ การวิจัยองค์กร (สถานศึกษา) การวิจัยหลักสูตร โครงงาน กิจกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓)  การจัดระบบนิเทศภายใน เป็นระบบการนิเทศการศึกษาที่มีคุณค่าที่สุด ด้วยการวางระบบการนิเทศภายใน กำหนดโครงสร้าง ภารกิจขอบข่าย กิจกรรมการเยี่ยม การให้คำปรึกษาหารือ การกำกับ โดยผู้บริหารต้องทำหน้าที่ศึกษานิเทศก์ที่คอยให้กำลังใจ ดูแล สร้างเสริม  พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการของครูสู่การพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
๓) ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา
การประเมินหลักสูตร  เป็นการสรุปรายงานผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเมื่อสิ้นปีการศึกษา  มีการวิเคราะห์ผลสำเร็จและความล้มเหลวของการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในรอบปี  ซึ่งควรดำเนินการเมื่อสิ้นปีการศึกษาในสิ้นเดือนมีนาคม แล้วนำข้อเด่นและข้อด้อยมาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาใหม่  และขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและประกาศใช้ในปีการศึกษาต่อไปในเดือนพฤษภาคม  เป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากหลักสูตรเดิมสู่รอบปีการศึกษาใหม่ (Spiral) ต่อไป
ทุกสิ้นปีการศึกษา เดือนมีนาคม จึงเป็นระยะเวลาที่มีความสำคัญที่สุด  ที่จะได้รับการสรุปและรายงานผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาประจำปีในรายวิชาหรือชั้นของครู  และผู้บริหารก็นำผลงานวิจัยรายวิชามาพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในเดือนเมษายน  ให้ทันใช้ในปีการศึกษาต่อไป
  ๓.๓  ครู
เมื่อครูได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบวิชาหรือชั้นใด  ครูก็มีบทบาททางการบริหารทันที  คือ  การเป็นผู้บริหารจัดการรายวิชา (Course Manager) เมื่อได้รับผิดชอบสาระรายวิชา หรือผู้จัดการชั้นเรียน (Class Manager) เมื่อได้รับมอบหมายให้สอนทั้งชั้น
เป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญที่สุดต่อการจัดการเรียนรู้และสร้างคุณภาพ ควรได้รับการส่งเสริมจากผู้บริหารให้มีจังหวะก้าวเดินที่มีคุณค่า  และสร้างคุณภาพให้กับครู ก่อนที่จะไปสร้างห้องเรียนคุณภาพ  อย่างน้อย ๔ ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นที่ ๑ กำหนดหน่วยการเรียนรู้สาระรายวิชา (Course Syllabus)
(บอกความเป็นนักวางแผนชั้นครู)
การกำหนดหน่วยการเรียนรู้ (Syllabus) เป็นงานวางแผน  ที่ครูต้องวางแผนให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทที่มีอยู่ คือ  หลักสูตรสถานศึกษา(คำอธิบายรายวิชา)  ผู้เรียน  วิถีชีวิตท้องถิ่น  ตลอดจนทรัพยากรการบริหารอื่น ๆ  ซึ่งต้องวางแผนให้ชัดเจนก่อนปีการศึกษาใหม่จะเริ่มขึ้น  เพื่อจะได้ใช้เป็นแผนที่เดินทางประจำตัวครู (Roadmap)
หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยกลุ่มสาระต่าง ๆ และแต่ละสาระวิชาจะมาสิ้นสุดที่ “คำอธิบายรายวิชา” (Course Description) หมายถึง  การพรรณนาขอบข่ายสาระของวิชานั้นตามมาตรฐานกำหนดไว้   คำอธิบายรายวิชา ก็คือ “หลักสูตร”  ที่ครูจะนำไปวางแผนบริหารจัดการ (Course Management) องค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้  โดยทั่วไปประกอบด้วย  ข้อมูลผู้สอน  คำอธิบายรายวิชา  จุดมุ่งหมาย (วัตถุประสงค์)  หัวข้อเรื่องที่จะสอนหรือหน่วยการเรียนรู้  วันเดือนปี จำนวนสัปดาห์หรือชั่วโมงที่ต้องใช้  กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อ  หนังสือคู่มือต่าง ๆ การวัดและประเมินผลและอื่นๆ
การกำหนดวันเวลาและเนื้อหา ให้เป็นไปตามปฏิทินวันทำการปกติของทางราชการ  ของ สพป.และของโรงเรียน  ควรเว้นวันหยุดต่าง ๆ  วันสำคัญทางศาสนาและประเพณีท้องถิ่น  และเหตุการณ์ที่คาดว่าจะมีความสำคัญและเกิดขึ้นออกไป  จัดเนื้อหาและวันเวลาให้สอดคล้องกับธรรมชาติของท้องถิ่นและระดับการศึกษาตลอดทั้งปีการศึกษา  ประมาณ  ๒๐๐  วัน หรือ ๔๐ สัปดาห์ ขึ้นไป ดังนี้
๑) ระดับชั้นประถมศึกษา  จะพบโรงเรียนมีธรรมชาติการปฏิบัติงาน  ๒ แบบ ซึ่งการบริหารจัดการก็จะต่างกัน  คือ
๑.๑  การสอนประจำชั้น  โดยครูได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเป็นชั้นเรียน บทบาทครูจะมีความแตกต่างจากครูที่ต้องรับผิดชอบรายวิชา  เพราะต้องรับผิดชอบสอนทั้งชั้นเรียนและสอนทุกกลุ่มสาระ  กรณีอย่างนี้  ครูมีบทบาทเป็น “ผู้บริหารจัดการชั้นเรียน” (Class Manager)  
หน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดต้องเป็น “แบบบูรณาการ”  คือการรวมทุกสาระมาจัดไว้เรียนร่วมกัน  ครูจะต้องนำคำอธิบายรายวิชาและมาตรฐานการเรียนรู้จากทุกสาระ  มากำหนดเป็นหน่วยแบบบูรณาการหน่วยต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะตามบริบทของชั้นเรียนนั้น ๆ ทั้งสองภาคเรียน คือ ๔๐ สัปดาห์ หรือ ๒๐๐ วัน จึงไม่เหมาะในการจัดหน่วยการเรียนแยกรายสาระ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ของครูประจำชั้นเช่นนี้จึงมีความยุ่งยากซับซ้อน  ครูต้องมีความรู้ทำความเข้าใจและมีทักษะในการบูรณาหลายสาระการเรียนรู้เข้าด้วยกัน  มีการเชื่อมโยงแนวคิด (Mind Map) และกิจกรรมไปยังสาระต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน
๑.๒  การสอนประจำวิชา  คือการที่ครูได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประจำรายวิชา เรียกว่าเป็น “ผู้บริหารจัดการรายวิชา” (Course Manager) โดยการนำคำอธิบายรายวิชา (Course Description) มาวิเคราะห์ กำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) จัดหน่วยการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานและธรรมชาติรายวิชา ซึ่งเป็นงานวางแผนเช่นเดียวกันแต่ไม่เหมือนกับการวางแผนแบบบูรณาการที่ซับซ้อนกว่า
แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาจึงเป็นไปตามความเหมาะสมของจำนวนบุคลากรและย่อมมีความหลากหลายในวิธีการปฏิบัติ เพราะจะพบว่าเป็นการสอนประจำชั้น  ครูประจำวิชา
การสอนควบชั้น  การสอนคละชั้น  เป็นต้น  จึงเป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละสถานศึกษาซึ่งสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้กับครูแต่ละคนตามบริบทที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี
  ๒) ระดับมัธยมศึกษา มีธรรมชาติที่เป็นรายวิชาอิสระที่มีครูรับผิดชอบ มีคำอธิบายรายวิชาที่ชัดเจน     กำหนดวัตถุประสงค์และหน่วยการเรียนรู้เป็นรายภาคเรียน ใช้เวลาประมาณ ๒๐ สัปดาห์ อยู่ในฐานะผู้บริหารจัดการรายวิชา (Course Manager) ที่ชัดเจน
  การกำหนดหน่วยการเรียนรู้ (Syllabus) จึงเป็นขั้นแรกของครูทุกระดับการศึกษา  เป็นด่านแรกที่แสดงศักยภาพความเป็น  “นักวางแผน” ของครู  ทำให้เห็นวิธีคิด (Paradigm) เห็นองค์ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะที่มีอยู่ในตัวครูได้อย่างชัดเจน  เป็นสิ่งให้ผู้บริหารใช้เป็นพื้นฐานในการเก็บเกี่ยวและพัฒนาส่งเสริมทักษะ  บุคลิกภาพและเจตคติที่มีอยู่ในตัวครูก่อนทำการสอนได้อย่างชัดเจน  สร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี  และหน่วยการเรียนรู้ถือเป็นเสมือนเค้าโครงการวิจัยเชิงทดลอง
จึงถือเป็นก้าวแรกที่งดงามของครูที่ผู้บริหารโรงเรียนจะใช้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับอนุญาตจากผู้บริหารสถานศึกษาที่จะให้เข้าทำการสอนในชั้นเรียนได้
ขั้นที่  ๒  วางแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan)
(บอกความเป็นนักออกแบบชั้นครู)
  เป็นขั้นของการนำหน่วยการเรียนรู้ (Syllabus) มาเตรียมการสอน  เป็นการถอดหน่วยการเรียนรู้มาทำการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายบทเรียน (Lesson Plan) ด้วยตนเอง  ด้วยการจัดทำบทเรียน  กำหนดวัตถุประสงค์  กิจกรรมการเรียนการสอน  เอกสารคู่มือ  สื่อ  แบบวัดประเมินผลการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เป็นแผนสด  ที่ออกแบบเพื่อการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าและใช้แต่ละครั้งไป  โดยออกแบบไว้ในวันนี้เพื่อการสอนในสัปดาห์หน้าเสมอ เป็นการเตรียมความพร้อมของครูตามหลักที่ว่า “จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร”
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้  อย่างน้อยสิ่งที่จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนคือ สาระการเรียนรู้ตามมาตรฐาน  วัตถุประสงค์  และกิจกรรมการเรียนรู้  การจัดทำรายละเอียดมากเท่าใดยิ่งมีประโยชน์ต่อการทำงานของครูมากเท่านั้น  การออกแบบการสอนที่ดีต้องตอบคำถามได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้เรียน  การใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ก็เป็นเทคนิคที่ดีอย่างหนึ่งที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน การสอนที่มีประสิทธิภาพย่อมมาจากการเตรียมการที่ดีเสมอ

ขั้นที่ ๓ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
(บอกความเป็นนักบริหารจัดการห้องเรียนชั้นครู)
เป็นขั้นของการจัดการเรียนรู้ของครูตามแผนที่ได้กำหนดไว้  ครูได้แสดงบทบาทการเป็นนักบริหารจัดการอย่างเต็มที่  คือ  การใช้ทักษะผู้นำ (Leadership) และความรู้ความสามารถทุกอย่าง  ได้แก่  การบริหารชั้นเรียน  การบริหารเวลา  ทักษะการใช้สื่อ  การตัดสินใจ  การวัดและประเมินผลของครู เพื่อที่จะทำให้การจัดการเรียนรู้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นนี้คือ  การบันทึกร่องรอยผลการจัดการเรียนรู้  ให้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการทำงาน  สิ่งที่ครูควรมีการบันทึกผลหลังสอน ได้แก่
๑) ผลการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  โดยการตอบวัตถุประสงค์ของแผน  แต่ละข้อมีผลสำเร็จ
อย่างไร  ด้วยวิธีใด  จำนวนเท่าใด และมีค่าสถิติอย่างไร  มีข้อสังเกต  และข้อพิจารณานำไปปรับปรุงต่อและใช้ในครั้งต่อไปอย่างไร
๒) บันทึกบรรยากาศการเรียนรู้จริง  เช่น ความสนุกสนาน  ความสนใจร่วมมือ  เจตคติ
พฤติกรรม  สื่อ แบบวัดประเมิน  เหตุการณ์ที่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ปัจจัยเสริม ข้อขัดข้องข้อสังเกตต่าง ๆ ควรเก็บบันทึกอย่างครบถ้วน  การบันทึกเป็นสิ่งง่าย ๆ ที่ครูจะเกิดทักษะและประสบการณ์ในการบันทึก ให้เป็นหมวดหมู่เป็นประเด็น  เป็นสมุดปูม (Log Book) บันทึกเหตุการณ์ประจำวันของชั้นเรียน ในขั้นตอนนี้  ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการเข้าไปกำกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในฐานะผู้นิเทศ  คือ การให้กำลังใจ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ (ละเว้นการตำหนิ การกล่าวโทษ)การสร้างแรงจูงใจ  การเสริมแรง  ส่งเสริมและช่วยเหลือให้ครูได้รับความสำเร็จ  โรงเรียนควรจัดระบบนิเทศภายใน (Internal Supervisory System)  ผู้ทำหน้าที่นิเทศที่มีคุณค่าที่สุดก็คือผู้บริหารสถานศึกษา  อาจกำหนดคณะนิเทศภายในสถานศึกษาและแสวงหาความร่วมมือการนิเทศที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
ขั้นที่ ๔  การประเมินการสอนรายวิชา  (บอกความเป็นนักวิจัยชั้นครู)
เป็นขั้นที่บอกความสำเร็จในการทำงานของครู  จากการจัดการเรียนรู้ตามแผนตั้งแต่แผนแรกจนถึงแผนสุดท้ายมาวิเคราะห์ประมวลผล  เพื่อตอบหน่วยการเรียนรู้ (Syllabus) และวัตถุประสงค์หน่วยการเรียนรู้ ว่าแต่ละข้อมีผลสำเร็จอย่างไร เท่าใด  มีปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะและการแก้ไขไว้อย่างไร  ทุกคำตอบหาได้จากบันทึกผลหลังแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้บันทึกไว้แล้ว สิ่งที่ควรดำเนินการในขั้นนี้ คือ
๑)  การสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   โดยการจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาประจำวิชาและของสถานศึกษา
๒)  สรุปรายงานผลการใช้หลักสูตรรายวิชา/หรือชั้น  ในรูปแบบรายงานการวิจัย ๕ บท ซึ่งได้ข้อมูลจากผลการแผนการจัดการเรียนรู้  เป็นผลงานสิ่งที่ทุกฝ่ายปรารถนาเพราะเป็นงานการวิจัยสูตรสถานศึกษา  จะพบองค์ความรู้ที่มีคุณค่าของครูอยู่ที่นี่  ต่อการพัฒนาหลักสูตรและการขอรับวิทยฐานะความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
๔.  มิติสัมพันธ์ ๔ ขั้นตอนของครูกับห้องเรียนคุณภาพ
                การพัฒนาที่มีคุณภาพของครูที่มีความสัมพันธ์ต่อการส่งเสริมให้เกิดห้องเรียนคุณภาพ ช่วยให้เข้าถึงกรอบที่กำหนดไว้  ๔  ประการ  ดังนี้
๔.๑  การนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ
ครูมีโอกาสได้รับการเร่งเร้า  ส่งเสริม  เพื่อกำหนดกระบวนทัศน์ (paradigm) ในการทำงานใหม่ในห้องเรียน  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบในการบริหารจัดการรายวิชาของครู  ที่จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแนวทางการขจัดการเรียนรู้  เห็นศักยภาพของครูแต่ละคน  สามารถสืบค้นจากแหล่งความรู้และมองเห็นแนวทางปรับปรุงต่อยอดความคิดได้ชัดเจน    มีการปรับการเรียนเปลี่ยนวิธีสอน  สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๔.๒  การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
สามารถวัดได้จากการเป็นนักวางแผน  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) จากหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด  เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการและหลักสูตรสถานศึกษา สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
๔.๓  การวิจัยในชั้นเรียน (CAR-Classroom Action Research)  การจัดการเรียนรู้  การบันทึกตามแผนการจัดการเรียนรู้  และนำผลมาประมวลเมื่อสิ้นปีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เป็นผลงานวิจัยชั้นเรียนที่มีคุณค่า  ครูทุกคนมีผลงานวิจัยของตน  เป็นฐานที่สำคัญในการนำไปพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละปี สามารถใช้เป็นผลงานในการขอเพิ่มวิทยฐานะได้อย่างมีเกียรติ เป็นผลที่เกิดขึ้นในก้าวที่ ๔

๔.๔  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน
อยู่ในทุกก้าวเดินของครูโดยเฉพาะอย่างยิ่งก้าวที่ ๒ และ ๓ ซึ่งเป็นก้าวของการแสวงหาความรู้และการสอน  ได้แก่การใช้สื่อสารสนเทศที่กว้างขวางเพื่อการสืบค้นและการเรียนการสอนสู่ห้องเรียนสากล (Global Classroom)  หลายอย่างครูสามารถเรียนรู้แนวทางได้จากอินเตอร์เน็ต  เช่น การสอนที่ใช้พลังของเด็ก (Power Teaching) เป็นรูปแบบที่ให้นักเรียนสอนเพื่อนต่อในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้  มีความตื่นตัวสนุกสนานพัฒนาสมองและบุคลิกภาพเด็กได้ครบทุกส่วน และขณะเดียวกันเด็กก็สามารถเรียนรู้และเลียนแบบจากต้นแบบในอินเตอร์เน็ตเช่นเดียวกัน เช่น การเล่นกีฬา  ดนตรีประเภทต่าง ๆ ที่ครูเลือกแนะนำให้เด็กได้แม้ไม่มีความชำนาญ   ทำให้สื่อใกล้ตัวครูและนักเรียนมากขึ้น  ชุมชนการเรียนรู้กว้างออกจากห้องเรียนไปสู่สากลด้วยจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  การใช้สมุดปูมส่วนตัว หรือ บล็อก (Blog) ที่มีบริการแก่สมาชิก เช่น  www.gotoknow.org/ ; www.blogger.com เป็นต้น
๕.  บทสรุป : ๖ ขั้นตอนคุณภาพคือชัยชนะของทุกฝ่าย (win-win solution)
๑) เด็ก ได้รับการเรียนรู้ตามมาตรฐาน  มีแบบแผน  ไม่อยู่ในภาวะเสี่ยง เรียนเก่ง   เป็นคนดี  มีความสุข และได้รับบริการอย่างทั่วถึง
๒)  ครู  ได้มีระบบการทำงานที่สอดคล้องกับวิชาชีพ  ไม่ทิ้งชั้นเรียน  มีความสุขกับการศึกษาค้นคว้าทดลองด้วยวิธีการของตน  สร้างผลงาน  พอกพูนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นตามระยะเวลาในการทำงาน  มีเกียรติได้รับการยอมรับในระดับมืออาชีพ
๓) ผู้บริหาร  มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจากผลงานการวิจัยของครูทุกคน และต่อยอดความสมบูรณ์ของหลักสูตรสถานศึกษาสู่ความก้าวหน้า มีบุคลากรที่มีคุณค่า แต่ละสถานศึกษาได้สร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายตามบริบทที่มีอยู่
๔) โรงเรียน กล้าประกาศตนเป็นโรงเรียนคุณภาพ เป็นสถาบันที่มีคุณค่าแก่ชุมชน เป็นแบบอย่างและได้รับความเชื่อมั่นเชื่อถือ
๕)  ชุมชนและผู้ปกครอง ได้สถานศึกษาของชุมชนที่มีคุณภาพในการบริหารจัดการ  มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง  มีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษา สร้างเชื่อถือ และสร้าง
ความเชื่อมั่นในครูและระบบการศึกษา
๖) สำนักงานเขตพื้นที่  สามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดได้อย่างมีทิศทาง  สามารถควบคุมระดับคุณภาพและมาตรฐานได้  ลดความเสี่ยงด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  สถานศึกษามีความหลากหลายในแนวทางปฏิบัติ (Best Practices) เป็นองค์ความรู้สู่การแลกเปลี่ยนต่อยอดให้ยั่งยืนต่อไป ในรูปแบบการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายนิเทศสถานศึกษาประจำอำเภอที่รับผิดชอบ ที่เรียกว่า เบญจภาคี
บทสรุป หากโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำห้องเรียนคุณภาพจนเกิดผลแล้ว ผลที่ตามมาคือจะทำให้นักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ เป็นบุคลที่มีศักยภาพ มีคุณภาพ เป็นเด็กดี เด็กเก่ง อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ตามที่สังคมไทยต้องการ อีกทั้งมีศักยภาพในการแข่งขันระดับเวทีโลก นำไปสู่โรงเรียนที่มีระดับมาตรฐานสากลต่อไป


การประเมินความสำเร็จห้องเรียนคุณภาพ

องค์ประกอบการประเมิน   ดำเนินการประเมิน ๓  องค์ประกอบ คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑  การประเมินด้านกายภาพ คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน
องค์ประกอบที่ ๒  การประเมินด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้ คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน
องค์ประกอบที่ ๓  การประเมินด้านคุณภาพนักเรียน คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน
เกณฑ์การประเมิน  กำหนดระดับคุณภาพเป็นระดับคุณภาพ  ๕  ระดับ
ระดับคุณภาพ  ๕  หมายถึง มีความครบถ้วน  สมบูรณ์  มีความเป็นระบบ  มีระเบียบ ยอมรับได้มาก  เป็นที่ประจักษ์ต่อการเป็นแบบอย่างที่ดี
ระดับคุณภาพ  ๔   หมายถึง มีแต่ไม่ครบถ้วนแต่มีมากกว่าครึ่งหนึ่ง  สมบูรณ์ มีความเป็นระบบ
มีระเบียบ  ยอมรับได้บ้าง  เป็นที่ประจักษ์ต่อการเป็นแบบอย่างได้
ระดับคุณภาพ  ๓   หมายถึง มีแต่ไม่ครบถ้วนมีเพียงครึ่งหนึ่ง มีความเป็นระบบ มีระเบียบยอมรับได้บางกรณี  พอเป็นแบบอย่างได้บางส่วน
ระดับคุณภาพ  ๒  หมายถึง มีแต่ไม่ครบถ้วนมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ยังไม่ค่อยเป็นระบบระเบียบและยอมรับได้บางกรณี  ยังเป็นแบบอย่างไม่ได้
  ระดับคุณภาพ  ๑  หมายถึง ไม่มีการปฏิบัติหรือไม่มีการดำเนินการ หรือดำเนินการแต่ยังไม่มีคุณภาพ



องค์ประกอบที่ ๑  การประเมินด้านภายภาพ  (คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน )
รายการประเมิน รายการพิจารณาให้คะแนนระดับคุณภาพ
๑.  ความเป็นระเบียบของห้องเรียน ๑. มีป้ายชื่อชั้นเรียน
๒. มีป้ายชื่อครูประจำชั้น
๓. มีป้ายสถิติแสดงการมาเรียนของนักเรียน
๔. มีป้ายแสดงข้อมูลเพื่อนร่วมชั้นเรียน
๕. มีข้อมูลแสดงน้ำหนักส่วนสูงของนักเรียน
๒.แหล่งสืบค้นข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ ๑  มีมุมส่งเสริมการอ่าน มุมบัณฑิตน้อย
๒  มีสื่อบันทึกการสืบค้นโดยใช้ระบบ ICT
๓  มีสื่อการเรียนรู้ที่จัดหาไว้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
๔  มีมุมเกมการศึกษา/สาระการเรียนรู้
๕  มีสมุดบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้
๓. การตกแต่งห้องสะอาด
    เรียบร่อย ๑ มีสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๒  มีป้ายคำขวัญของห้องเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิด
๓  มีป้ายข้อตกลงของห้องเรียน
๔  มีมุมสำหรับสุขนิสัย เช่น ที่แขวนแก้วน้ำ แปรงสีฟัน
๕  มีชั้นวางรองเท้า
๔. บรรยากาศเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้
(บรรยากาศภายในห้องเรียน) ๑  มีความสะอาด การจัดโต๊ะครู/นักเรียนเป็นระเบียบและมีความเหมาะสม
๒  มีแสงสว่างเพียงพอ
๓  ไม่มีเสียงรบกวนผู้เรียน
๔  ไม่มีกลิ่นรบกวนผู้เรียน
๕  มีที่เก็บเครื่องมือทำความสะอาด อย่างเรียบร้อย และสวยงาม


รายการประเมิน รายการพิจารณาให้คะแนนระดับคุณภาพ  ๕.
 ป้ายนิเทศให้ความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ 
๑  มีมุมประสบการณ์ที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำ
๒  มีป้ายนิเทศตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
๓  มีป้ายนิเทศแสดงผลงานนักเรียน
๔  มีป้ายนิเทศให้ความรู้ที่ทันเหตุการณ์
๕  มีป้ายบุคคลสำคัญ
๖. วัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียน 
๑  มีนาฬิกาประจำห้องเรียนที่ใช้ได้
๒  มีตารางสอนประจำห้องเรียน
๓  มีตู้หรือชั้นเก็บสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม
๔  มีปฏิทินปีปัจจุบัน
๕  มีเครื่องเล่นVCD ,TV,สื่อเทคโนโลยีที่จำเป็นและเหมาะสม
๗.  การนำหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในห้องเรียน 
๑  มีตารางเวรรับผิดชอบความสะอาด
๒  มีสมุดบันทึกความดี
๓  มีสมุดบันทึกการออมทรัพย์
๔  มีการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาประยุกต์ใช้อีก
๕  มีสมุดบันทึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์
๘. การนำเสนอผลงานเด่นของห้องเรียน 
๑  มีการนำเสนอผลงานนักเรียนดีเด่นประจำสัปดาห์
๒  มีการนำเสนอผลงานนักเรียนดีเด่นประจำเดือน
๓  มีการนำเสนอผลงานระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพฯ
๔  มีการนำเสนอผลงานระดับเขตพื้นที่
๕  มีการนำเสนอผลงานที่ครูและนักเรียนร่วมกัน
   จากภายในและภายนอกสถานศึกษา

หมายเหตุ  ให้พิจารณารายการแต่ละรายการประเมิน โดยตรวจนับรายการที่มีการปฏิบัติหรือจัดทำ
เทียบกับเกณฑ์การประเมิน นับจำนวน ๑ รายการ ต่อ ๑ ระดับคุณภาพ

องค์ประกอบที่ ๒  การประเมินด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้ (คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน)
๒.๑   ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสติปัญญา
ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
มีแผนการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนตามระดับความสามารถ และปรับปรุงพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนตามระดับความสามารถ
ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
มีแผนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียน
ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย
มีแผนการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ไม่ครบตามที่ทำการสอน
ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือ
มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย หรือ
ไม่มีแผนการเรียนรู้


วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม สัมภาษณ์ ครู  ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - แฟ้มข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- แผนการจัดการเรียนรู้
- หลักฐานการสอนเสริม/สอนซ่อม
- ฯลฯ

๒.๒   ครูจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสติปัญญา
ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
จัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนตามระดับความสามารถ และปรับปรุงพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
จัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนตามระดับความสามารถ
ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเลือกใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
จัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียน
ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ไม่ครบตามที่กำหนดไว้
ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือ
ใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย หรือ
ไม่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้


วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม สัมภาษณ์ ครู  ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - แฟ้มข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- แผนการจัดการเรียนรู้
- หลักฐานการสอนเสริม/สอนซ่อม
- ฯลฯ

๒.๓ ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการ
     ในการจัดการเรียนรู้

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ครูสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบริบทของท้องถิ่นที่เป็นปัจจุบัน เพื่อวางแผนจัดทำ จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ และนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
นำบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้
มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อโดยผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย
ครูสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบริบทของท้องถิ่นที่เป็นปัจจุบัน เพื่อวางแผนจัดทำ จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ และนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
นำบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้
มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ
ครูสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบริบทของท้องถิ่นที่เป็นปัจจุบัน เพื่อวางแผนจัดทำ จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ และนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
นำบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ
ครูสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบริบทของท้องถิ่นแต่ไม่เป็นปัจจุบัน เพื่อวางแผนจัดทำ จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
นำบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ แต่ขาดความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาและลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้
ครูไม่สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบริบทของท้องถิ่น เพื่อวางแผนจัดทำ จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ
ไม่นำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือ
ไม่นำบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม สัมภาษณ์ ครู  ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน -แบบสำรวจข้อมูล สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ บริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ รายงานวิจัยชั้นเรียนลฯ

๒.๔  ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน  ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพตามหลักการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับทุกมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งจัดเก็บเครื่องมืออย่างเป็นระบบ
วัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย และตัดสินผลการเรียนรู้โดยพิจารณาคะแนนพัฒนาการ
ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพตามหลักการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่
วัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย และตัดสินผลการเรียนรู้โดยพิจารณาคะแนนพัฒนาการ
ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนที่มีคุณภาพตามหลักการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่
วัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียน และตัดสินผลการเรียนรู้โดยพิจารณาคะแนนพัฒนาการ
ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักการวัดและประเมินผล แต่เครื่องมือส่วนใหญ่ขาดความสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
วัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียน และตัดสินผลการเรียนรู้โดยพิจารณาคะแนนพัฒนาการ
ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักการวัดและประเมินผล แต่เครื่องมือส่วนใหญ่ขาดความสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือ
ไม่วัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียน หรือตัดสินผลการเรียนรู้โดยไม่พิจารณาจากคะแนนพัฒนาการ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม การสัมภาษณ์ ครู  ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - เครื่องมือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- แผนการจัดการเรียนรู้/บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
- ชิ้นงาน / ภาระงานของนักเรียน
- ฯลฯ


๒.๕ ครูมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบและใช้ผลในการปรับ
การสอน

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ครูมีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ และมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน
ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ๑ เรื่องในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ ผลงานเป็นแบบอย่างที่ดีและสามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้อื่นได้
นำผลจากการวิจัยในชั้นเรียนไปแก้ปัญหา และหรือพัฒนาผู้เรียน มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยและมีการแก้ปัญหา และหรือพัฒนาผู้เรียนโดยการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
ครูมีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ และมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน
ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ ๑ เรื่องในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และสามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้อื่นได้
นำผลจากการวิจัยในชั้นเรียนไปแก้ปัญหา และหรือพัฒนาผู้เรียน มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ครูมีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ และมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน
ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ ๑ เรื่องในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ
นำผลจากการวิจัยในชั้นเรียนไปแก้ปัญหา และหรือพัฒนาผู้เรียน มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ครูมีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ และมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน
ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ ๑ เรื่องในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบแต่ไม่นำผลจากการวิจัยในชั้นเรียนไปแก้ปัญหา และหรือพัฒนาผู้เรียน
ครูไม่มีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน หรือ
ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม/การสัมภาษณ์ ครู  ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การสังเกต พฤติกรรมของครู
๓. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - รายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูแต่ละคน
- เอกสาร / หลักฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัย
- สื่อ/นวัตกรรม/เทคนิคการสอนที่ใช้พัฒนา/แก้ปัญหาผู้เรียน
- ฯลฯ

๒.๖  ครูให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิต
       ด้วยความเสมอภาค

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ครูศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล มีการช่วยเหลือผู้เรียนรายบุคคล โดยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งให้คำแนะนำชี้แนะแก่ผู้อื่นได้
ประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน
รายงานผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ผู้ปกครองทราบ
ครูศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล มีการช่วยเหลือผู้เรียนรายบุคคล โดยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
ประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน
รายงานผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ผู้ปกครองทราบ
ครูศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล มีการช่วยเหลือผู้เรียนรายบุคคล โดยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาของผู้เรียน
ประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน
รายงานผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ผู้ปกครองทราบ
ครูศึกษาและช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาของผู้เรียน แต่ไม่เน้นเป็นรายบุคคล
ประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิต
รายงานผลผู้เรียนให้ผู้ปกครองทราบ
ครูศึกษาผู้เรียน แต่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาของผู้เรียน
ไม่ครอบคลุมและทั่วถึง หรือ
ไม่มีการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน หรือ
ไม่มีการรายงานผลผู้เรียนให้ผู้ปกครองทราบ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม การสัมภาษณ์ ครู  ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - แบบบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
- แผนงาน / โครงการ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เช่น แบบคัดกรองนักเรียน แบบบันทึกการให้คำปรึกษา บันทึกเยี่ยมบ้าน

องค์ประกอบที่ ๓  การประเมินด้านคุณภาพนักเรียน (คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน)
๓.๑ นักเรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เครื่องใช้ส่วนตัวสะอาด
ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการครบถ้วน
เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายมากกว่า ๓ รายการ และปฏิบัติตนจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างที่ดี
มีส่วนร่วมในการเผยแพร่หรือรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพกับหน่วยงานภายนอก
มากกว่า ๓ ครั้ง
ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เครื่องใช้ส่วนตัวสะอาด
ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการครบถ้วน
เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย ๒-๓ รายการ และปฏิบัติตนจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างที่ดี
มีส่วนร่วมในการเผยแพร่หรือรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพกับหน่วยงานภายนอก  ๒-๓ ครั้ง
ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เครื่องใช้ส่วนตัวสะอาด และ
ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการครบถ้วน
เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างน้อย ๑ รายการ และปฏิบัติตนจนเป็นนิสัย
มีส่วนร่วมในการเผยแพร่หรือรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพกับหน่วยงานภายนอกอย่างน้อย ๑ ครั้ง
ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เครื่องใช้ส่วนตัวสะอาด
ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการไม่ครบถ้วน
เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างน้อย ๑ รายการ และการปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยต้องมีผู้ชี้แนะ
มีส่วนร่วมในการเผยแพร่หรือรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพภายในสถานศึกษาอย่างน้อย๑ ครั้ง
ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เครื่องใช้ส่วนตัวส่วนใหญ่ไม่ค่อยสะอาด หรือ
ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการไม่ครบเป็นส่วนใหญ่ หรือ
ไม่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือ
ไม่มีส่วนร่วมในการเผยแพร่หรือรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพภายในสถานศึกษา

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสัมภาษณ์ การสอบถาม
การสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียน เพื่อน ครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร
หลักฐาน ร่องรอย
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - แฟ้มเอกสารผู้เรียนรายบุคคล
- ข้อมูลด้านคุณภาพ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียนรายบุคคล
- ข้อมูลสารสนเทศ สถิติของสถานศึกษา ได้แก่ การเจ็บป่วย การใช้ห้องพยาบาล ข้อมูลจากฝ่ายปกครอง สถิติการมาเรียน
- ภาพถ่ายกิจกรรม วุฒิบัตร เกียรติบัตรนักเรียนสุขภาพดี  สมุดเยี่ยมเจ้าหน้าที่ สธ.

๓.๒ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้
      และสื่อต่างๆรอบตัว

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ผู้เรียนอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ สัปดาห์ละ ๕ ชั่วโมง หรือมากกว่า
ยืมหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์จากห้องสมุด หรือแหล่งเรียนรู้ไปอ่านเพิ่มเติมเอง มากกว่า ๓ เล่มต่อภาคเรียน
อธิบายวิธีการสืบค้นความรู้ที่ตนสนใจหรือต้องการอย่างมีขั้นตอน
มีผลงานอันเกิดจากการค้นหาความรู้จากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่างๆ รอบตัว มากกว่า ๓ ชิ้นต่อภาคเรียน
ผู้เรียนอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  สัปดาห์ละ ๓-๔ ชั่วโมง
ยืมหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งพิมพ์จากห้องสมุด หรือแหล่งเรียนรู้ไปอ่านเพิ่มเติมเอง   ๒-๓ เล่ม
ต่อภาคเรียน
อธิบายวิธีการสืบค้นความรู้ที่ตนสนใจหรือต้องการอย่างมีขั้นตอน
มีผลงานอันเกิดจากการค้นหาความรู้จากห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ๒ ชิ้น ต่อภาคเรียน
ผู้เรียนอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  สัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง
ยืมหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งพิมพ์จากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ไปอ่านเพิ่มเติมเอง ๒ เล่ม ต่อภาคเรียน
มีผลงานอันเกิดจากการค้นหาความรู้จากห้องสมุด ๑ ชิ้น /ภาคเรียน
ผู้เรียนอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  สัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง
ยืมหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งพิมพ์ จากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ไปอ่านเพิ่มเติมตามที่ครูกำหนด
ค้นหาความรู้โดยมีครูหรือเพื่อนคอยชี้แนะ กำกับ ควบคุม
ผลงานจากการค้นคว้าไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง
ผู้เรียนอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ สัปดาห์ละน้อยกว่า ๑ ชั่วโมง หรือ
ไม่ยืมหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งพิมพ์ จากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ไปอ่านเพิ่มเติม หรือ
ไม่รู้วิธีสืบค้นข้อความรู้จากแหล่งต่าง ๆ หรือ
ไม่มีผลงานจากการค้นหาความรู้เพิ่มเติม



วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสัมภาษณ์ การสอบถาม
    การสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียน ครู  ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐานร่องรอยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ การบันทึกและสรุปผลการสังเกต และการสัมภาษณ์ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- หลักฐาน ร่องรอย การเข้าร่วมหรือมีส่วนปฏิบัติกิจกรรม โครงการส่งเสริมการอ่านกิจกรรมห้องสมุด สถิติการใช้ห้องสมุดของผู้เรียน แบบบันทึกการอ่าน แบบบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้ การบันทึกรายการลงในทะเบียนหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสิ่งพิมพ์ที่ผู้เรียนอ่าน การบันทึกรายการลงในทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษาของครู
- สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของครูและการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- สมุดบันทึก โล่ เกียรติบัตร รางวัล ภาพถ่าย
- ฯลฯ
๓.๓ นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
ระดับคุณภาพ (ช่วงชั้นที่ ๑-๒)
ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และใช้สื่อเทคโนโลยีค้นหาข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว ตรงตามวัตถุประสงค์
ติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว
นำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีกราฟิกออกแบบได้สอดคล้องกับเนื้อหา และน่าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้อื่นได้
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และใช้สื่อเทคโนโลยีค้นหาข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว ตรงตามวัตถุประสงค์
ติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว
นำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีกราฟิกออกแบบได้สอดคล้องกับเนื้อหา และน่าสนใจ ให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้อื่นได้
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และใช้สื่อเทคโนโลยีค้นหาข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้
นำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีกราฟิกออกแบบได้
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และใช้สื่อเทคโนโลยีค้นหาข้อมูลได้น้อย
ติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้โดยมีผู้คอยชี้แนะ กำกับ ควบคุม
นำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีกราฟิกออกแบบได้โดยมีผู้คอยชี้แนะ กำกับ ควบคุม
ผู้เรียนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และใช้สื่อเทคโนโลยีค้นหาข้อมูล หรือ
ไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้ หรือ
ไม่สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีกราฟิกออกแบบได้ หรือนำเสนอผลงานได้ แต่ขาดความสอดคล้องกับเนื้อหา ไม่น่าสนใจ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล / แหล่งข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียน ครู  ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - ผลงาน ชิ้นงาน โครงงานของผู้เรียน
- สรุปผลการสำรวจการใช้สื่อเทคโนโลยี
- แผนการจัดการเรียนรู้ (กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี)
- รางวัลผลงานดีเด่นด้านการใช้เทคโนโลยีของนักเรียน  เช่น วุฒิบัตร , เกียรติบัตร, โล่ เป็นต้น
๓.๔ นักเรียนสามารถนำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง
ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ผู้เรียนสามารถนำเสนอรูปแบบวิธีคิด และวิธีแก้ปัญหาอย่างน่าสนใจและชัดเจน โดยการพูดหรือเขียนด้วยภาษาที่สุภาพถูกต้องตามหลักภาษา หรือโดยวิธีการอื่นตามความคิดของตนเองตรงตามวัตถุประสงค์
มีการใช้สื่อหรือสื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอหลายรูปแบบ ทำให้ผู้อื่นเข้าใจชัดเจน และเป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำแนะนำ ชี้แนะแก่ผู้อื่นได้
ผู้เรียนสามารถนำเสนอรูปแบบวิธีคิด และวิธีแก้ปัญหาอย่างน่าสนใจ โดยการพูดหรือเขียนด้วยภาษาที่สุภาพถูกต้องตามหลักภาษา หรือโดยวิธีการอื่นตามความคิดของตนเองตรงตามวัตถุประสงค์
มีการใช้สื่อหรือสื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้อื่นเข้าใจ
ผู้เรียนสามารถนำเสนอรูปแบบวิธีคิด และวิธีแก้ปัญหาโดยการพูดหรือเขียน หรือโดยวิธีการอื่นตามความคิดของตนเอง ทำให้ผู้อื่นเข้าใจ
มีการใช้สื่อหรือสื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
ผู้เรียนสามารถนำเสนอรูปแบบวิธีคิด และวิธีแก้ปัญหาโดยการพูดหรือเขียน หรือโดยวิธีการอื่น โดยมีผู้ชี้แนะ กำกับ ควบคุม
มีการใช้สื่อหรือสื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอได้อย่างเหมาะสมเพียงเล็กน้อย
ผู้เรียนไม่สามารถนำเสนอรูปแบบวิธีคิด และวิธีแก้ปัญหาโดยการพูดหรือเขียนให้ผู้อื่นเข้าใจได้ หรือ
ไม่มีการมีการใช้สื่อหรือสื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสัมภาษณ์ การสอบถาม
การสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียน ครู  ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน
ร่องรอยการปฏิบัติงาน
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - รายงานผลการดำเนินงานโครงการ  โครงงาน
- แบบสรุปผลการสังเกตพฤติกรรม ลีลาการพูด การใช้ภาษาพูดและเขียน
- ชิ้นงาน/ผลงานผู้เรียน เช่น ผังความคิด (Mind map) รายงาน เรียงความ สื่อ สื่อเทคโนโลยีประกอบ การนำเสนอ
- วิธีการใช้สื่อ สื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอ
- ฯลฯ

๓.๕ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
จำนวนผู้เรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้) ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
จำนวนผู้เรียนร้อยละ ๗๐ - ๗๙ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้) ตามเกณฑ์
ที่สถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
จำนวนผู้เรียนร้อยละ ๖๐ - ๖๙ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้) ตามเกณฑ์
ที่สถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
จำนวนผู้เรียนร้อยละ ๕๐ - ๕๙ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้) ตามเกณฑ์
ที่สถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
จำนวนผู้เรียนต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้) ตามเกณฑ์
ที่สถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
วิธีการเก็บข้อมูลและแหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสัมภาษณ์ การสอบถาม - ผู้บริหารสถานศึกษาและครู
๒. การตรวจเอกสาร หลักฐาน
ร่องรอยการปฏิบัติงาน
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - การจัดทำสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของผู้เรียนทุกกลุ่มสาระ และ ทุกระดับชั้นในปีปัจจุบัน และปีที่ผ่านมา
- รายงานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ตามเป้าหมายของสถานศึกษาทุกกลุ่มสาระ และทุกระดับชั้น ในปีปัจจุบัน และปีที่ผ่านมาฯลฯ

๓.๖ นักเรียนทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง

ระดับ คำอธิบายระดับคุณภาพ
ผู้เรียนเต็มใจ พึงพอใจ และชื่นชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น ตั้งใจ พากเพียร และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานทุกขั้นตอน                  
ยอมรับในคำวิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้อื่น
มีการปรับปรุง และพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ผลงานเป็นแบบอย่างที่ดี ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
มีความรู้สึกชื่นชมต่อผลสำเร็จของผลงาน
ผู้เรียนเต็มใจ พึงพอใจ และชื่นชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น ตั้งใจ พากเพียร และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานทุกขั้นตอน                          
ยอมรับในคำวิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้อื่น
มีการปรับปรุง และพัฒนางานของตนเองเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์
มีความรู้สึกชื่นชมต่อผลสำเร็จของผลงาน
ผู้เรียนเต็มใจ พึงพอใจ และชื่นชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น ตั้งใจ พากเพียร และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานเกือบครบทุกขั้นตอน                          
ยอมรับในคำวิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้อื่น
มีการปรับปรุง และพัฒนางานของตนเองเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์
มีความรู้สึกชื่นชมต่อผลสำเร็จของผลงาน
ผู้เรียนเต็มใจ พึงพอใจ และชื่นชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น ตั้งใจ พากเพียร และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานบางขั้นตอน                          
ยอมรับในคำวิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้อื่น
มีการปรับปรุง และพัฒนางานของตนเองเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์โดยมีผู้ชี้แนะ กำกับ ควบคุม
มีความรู้สึกชื่นชมต่อผลสำเร็จของผลงานบางส่วน
ผู้เรียนไม่พึงพอใจ หรือชื่นชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายหรือผลงานสำเร็จ   เป็นบางส่วน หรือ
ไม่มีความกระตือรือร้น ตั้งใจ หรือ พากเพียรปฏิบัติงาน หรือ                        
ไม่ยอมรับในคำวิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดเห็นข้อเสนอแนะของผู้อื่น หรือ
ไม่มีการปรับปรุง และพัฒนางานของตนเองเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล
๑. การสอบถาม สัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การสังเกต พฤติกรรมของครู (การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน)
๓. การตรวจเอกสาร หลักฐาน
ร่องรอยการปฏิบัติงาน
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ - ผลงานของผู้เรียนรายบุคคลและผลงานกลุ่ม แฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียน
- บันทึกการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้เรียน
- ร่องรอยผลงานของผู้เรียนรายบุคคลและรายกลุ่ม
- ภาพถ่ายกิจกรรมของผู้เรียน ฯลฯ

ข้อมูลทั่วไป
1. ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่................................
โรงเรียน.....................................................อำเภอ..................................จังหวัดชัยภูมิ
     กลุ่มเครือข่ายนิเทศกลุ่มที่...........ศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา.......................
๒.  ชื่อครูผู้รับผิดชอบ...............................................................................................
๓.  ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน......................................................................................

องค์ประกอบที่ ๑  การประเมินด้านกายภาพ (คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน)
รายการประเมิน ระดับคะแนน

การจัดห้องเรียน
๑.๑.ความเป็นระเบียบของห้อง
๑.๒.แหล่งสืบค้นข้อมูลและแหล่งเรียนรู้
๑.๓.การตกแต่งห้องเรียนสะอาด เรียบร้อย
๑.๔.บรรยากาศเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้
๑.๕.ป้ายนิเทศให้ความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์
๑.๖.วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียน
๑.๗.การนำหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในห้องเรียน
๑.๘.การนำเสนอผลงานเด่นของห้องเรียน
รวมระดับคะแนน
รวมคะแนนทั้งหมด


ข้อสังเกต
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................





องค์ประกอบที่ ๒  การประเมินด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้  (คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน)

รายการประเมิน ระดับคะแนน

คุณภาพการจัดการเรียนรู้
๒.๑  ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสติปัญญา
๒.๒  ครูจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และ
พัฒนาการทางสติปัญญา
๒.๓ ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผนวกกับการนำบริบทและ
ภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
๒.๔  ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
๒.๕ ครูมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบและใช้ผลในการปรับการสอน
๒.๖  ครูให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียน
ทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิต
รวมระดับคะแนน
รวมคะแนนทั้งหมด


ข้อสังเกต
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................



องค์ประกอบที่ ๓   การประเมินด้านคุณภาพนักเรียน  (คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน)

รายการประเมิน ระดับคะแนน

คุณภาพนักเรียน
๓.๑ นักเรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
๓.๒นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่างๆ รอบตัว
๓.๓ นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
๓.๔ นักเรียนสามารถนำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง
๓.๕ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์

๓.๖ นักเรียนทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง
รวมระดับคะแนน
รวมคะแนนทั้งหมด

ข้อเสนอแนะ
คุณภาพด้านกายภาพ
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
คุณภาพค้านการจัดการเรียนรู้
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
คุณภาพนักเรียน
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................


สรุป
องค์ประกอบที่ ๑  การประเมินด้านกายภาพ      คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน ได้คะแนน............
องค์ประกอบที่ ๒  การประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้  คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน ได้คะแนน............
องค์ประกอบที่ ๓  การประเมินด้านคุณภาพนักเรียน    คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน  ได้คะแนน............
  คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน          รวมคะแนน...............
ได้คุณภาพร้อยละ..............................

ลงชื่อ.....................................................ประธานกรรมการ
        (..............................................)
ลงชื่อ.....................................................กรรมการ
       (..............................................)
ลงชื่อ.....................................................กรรมการ
       (..............................................)
ลงชื่อ.....................................................กรรมการ
       (..............................................)
ลงชื่อ.....................................................กรรมการ/เลขานุการ
       (..............................................)


แบบสรุปผลการติดตามยืนยันผลห้องเรียนคุณภาพ ปีการศึกษา.............................
โรงเรียน..................................................กลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศ....................................
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑

ที่ ชื่อ-สกุล ชั้น/ห้อง ผลการประเมิน ผ่าน/ไม่ผ่าน
  (%) เกณฑ์









๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
รวม/เฉลี่ย






แบบสรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่สถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
 ปีการศึกษา .............................   กลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศ..............................................
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล โรงเรียน ห้องที่รับผิดชอบ คะแนนเฉลี่ย









๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕




แบบสรุปผลจำแนกตามโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศ........................................……
ประจำปีการศึกษา ...................................
ที่ โรงเรียน จำนวนห้อง จำนวนห้องเรียน สรุปผ่าน/ไม่ผ่านเกณฑ์ หมายเหตุ

ร้อยละ ๘๐ ต่ำกว่า









๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗


หมายเหตุ โรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา........................จำนวน..........โรงเรียน
มีคะแนนเฉลี่ยของห้องเรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป..........................โรงเรียน
มีคะแนนเฉลี่ยของห้องเรียนต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ........................โรงเรียน










แนวทางการติดตามตรวจสอบและประเมิน
คณะกรรมการติดตามตรวจสอบประเมินห้องเรียนคุณภาพ (อนุก.ต.ป.น.)
เป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบประเมินผลห้องเรียนคุณภาพ  มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมากำหนดเป็นแนวทางการติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา  กำหนดแนวทางการศึกษา  วิเคราะห์  วิจัย  การบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา  พิจารณาแผนการติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา  โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผนที่กำหนดรับทราบผลการติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน  และให้ข้อเสนอแนะ  เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องส่งเสริมให้มีการประสานการดำเนินการกับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ในลักษณะการทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นภาคีเครือข่ายการนิเทศเพื่อยกระดับห้องเรียนคุณภาพ รูปแบบที่นำมาใช้ได้แก่ การแต่งตั้งอนุกรรมการติดตามตรวจสอบดำเนินการตามแผนที่กำหนด
๑. ภาคีเครือข่ายการนิเทศประจำอำเภอ ประกอบด้วย
เครือข่ายนิเทศติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลอำเภอเมือง ๘   เครือข่าย
เครือข่ายนิเทศติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลอำเภอบ้านเขว้า   ๒   เครือข่าย
เครือข่ายนิเทศติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลอำเภอหนองบัวแดง ๕   เครือข่าย
เครือข่ายนิเทศติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลอำเภอภักดีชุมพล   ๒   เครือข่าย
เครือข่ายนิเทศติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลอำเภอคอนสวรรค์   ๓   เครือข่าย
                       รวมทั้งสิ้น ๒๐   เครือข่าย
๒. คณะอนุกรรมการเบญจภาคีนิเทศ   ประกอบด้วย
๑. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  นั้นๆทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ
๒. ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  หรือรองประธานศูนย์  หรือผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  ที่รับผิดชอบสถานศึกษาประจำอำเภอนั้นๆ ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ
๓. ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศ กรรมการ
๔. ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศ กรรมการ
๕. ครูผู้สอนชั้นอนุบาลศึกษา ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเบญจภาคีนิเทศ กรรมการ
๖. ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโรงเรียนประจำศูนย์พัฒนาคุณภาพฯ  กรรมการและเลขานุการ
.๓ คณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา
    ประจำสถานศึกษา ประกอบด้วย
๑. ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกศูนย์  ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ
๒. ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียน   ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการ
๓. ครูผู้สอนในโรงเรียน   ทำหน้าที่คณะอนุกรรมการ
๔. ครูวิชาการโรงเรียน   ทำหน้าที่คณะอนุกรรมการและเลขานุการ



๔.การผ่านเกณฑ์ระดับห้องเรียน/โรงเรียน
  ห้องเรียน
ได้รับการติดตามยืนยันผลการปฏิบัติจากคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และ
นิเทศการศึกษา ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
โรงเรียน
ได้รับการติดตามยืนยันผลการปฏิบัติจากคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และ
นิเทศการศึกษา โดยมีห้องเรียนคุณภาพ ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป





















คำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑
ที่   ๑๑๔  /  ๒๕๕๘
เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำคู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ  ปีการศึกษา ๒๕๕๗
......................................................................................................

  ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต  ๑  จะดำเนินการจัดทำคู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้    ตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๗   โดยกำหนดจัดทำ  ในวันจันทร์ที่  ๒  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๘  ณ  ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิจำกัด  อำเภอเมือง  จังหวัดชัยภูมิ  เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าว เกิดประสิทธิภาพ  และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  จึงแต่งตั้งคณะดำเนินงาน  ดังต่อไปนี้

๑.คณะกรรมการอำนวยการ  ประกอบด้วย
๑.นายธนชน  มุทาพร       ผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑         ประธานกรรมการ
๒.นายวิรัตน์  วิทยานุวัฒน์         รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑    รองประธานกรรมการ
๓.นายบัญญัติ  เพ็ญจันทร์         รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต    รองประธานกรรมการ
๔.นายพรภิรมย์   สุทธิกานต์     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑    รองประธานกรรมการ
๕.นายสงคราม  หิรัญเขว้า     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                   กรรมการ
๖.นายเสงี่ยม  ทองละมุล     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                   กรรมการ
๗.นายวิไล  เบิบชัยภูมิ             รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                   กรรมการ
๘.นายสุรศักดิ์  ฤๅชา     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                   กรรมการ
๙.นายศักดิ์สว่าง  สายโส           รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                   กรรมการ
๑๐.นายอนันต์   ชัชชวพันธ์     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                  กรรมการ
๑๑.นายวิเชียร  เคนชมภู     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                   กรรมการ
๑๒.ศึกษานิเทศก์  สพป.ชัยภูมิเขต ๑  ทุกท่าน           กรรมการ
๑๓.นายกฤตพัฒน์   พลคราม   ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลฯ     กรรมการ/เลขานุการ
๑๔.นายชัยรัตน์  มวลชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันฯ       กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ
๑๕.นางสาวสุภาวดี  ธรรมโชติ     ศึกษานิเทศก์        กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ
๑๖.นางประภัสสร  สิตวงษ์   ศึกษานิเทศก์        กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ

มีหน้าที่  วางแผนการประชุมปฏิบัติการ  ให้คำปรึกษา  แนะนำ  อำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน  และแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
๒.  คณะกรรมการจัดทำคู่มือห้องเรียนคุณภาพระดับปฐมวัย ประกอบด้วย
๑. นายบัญญัติ  เพ็ญจันทร์ รอง ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                           ประธานกรรมการ
๒. นายสามารถ  อยู่ภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ     รองประธานกรรมการ
๓. นายวิทศักดิ์  ชัยสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว                 กรรมการ
๔.นางรจนา  ทองสุข       ศึกษานิเทศก์ หน.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรฯ               กรรมการ
๕.นางธัญยธรณ์  สวโรจน์เตโชกิจ ศึกษานิเทศก์                   กรรมการ
๖.นางวิมลพรรณ  ประไพวัชรพันธ์ ครูโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ        กรรมการ
๗.นางกรวรรณ  สายโส ครูโรงเรียนบ้านกุดหูลิง        กรรมการ
๘.นางอนงนาฎ  สุขนาแซง ครูโรงเรียนชุมชนบ้านจอก(ดอนสวรรค์วิทยากร)                   กรรมการ
๙.นางรุจิ  ยวงสุวรรณ ครูโรงเรียนบ้านลาดเหนือ        กรรมการ
๑๐.นางดาลัด  พันธ์เนียม ครูโรงเรียนบ้านโนนม่วง                   กรรมการ
๑๑.นางสุกานดา  พิมพา ครูโรงเรียนบ้านโค้งน้ำตับวิทยาคาร                   กรรมการ
๑๒.นายกฤตพัฒน์   พลคราม   ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลฯ    กรรมการ/และเลขานุการ
๑๓.นายประเมิน  บุญเสนา   ศึกษานิเทศก์ หน.กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อฯ   กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ
๑๔.นางอุไรวรรณ  ทนุพันธ์ ศึกษานิเทศก์          กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ

มีหน้าที่ จัดทำคู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ  ระดับห้องเรียนปฐมวัย  ปีการศึกษา  ๒๕๕๗

๑. คณะกรรมการจัดทำคู่มือห้องเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย

๑.นายวิรัตน์  วิทยานุวัฒน์ รอง ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                           ประธานกรรมการ
๒.นายประเสริฐ  ปุมพิมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุดฉนวน     รองประธานกรรมการ
๓.นายรังสฤษฏ์  อาวะบุตร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งเกตรัฐราษฎร์นุเคราะห์                 กรรมการ                
๔.นางสาววรนัฐ  กลิ่นจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคร้อห้วยชัน                   กรรมการ  ๕.นางสาวนภัสกร  ถือชัยภูมิ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองแห้วพัฒนา                  กรรมการ
๖.นายประยงค์  มาแสง ศึกษานิเทศก์ หน.กลุ่มงานเลขานุการฯ             กรรมการ
๗.นางสาวสาวิกา  จักรบุตร ศึกษานิเทศก์               กรรมการ
๘.นางศุภมาส  ผุยแสงพันธ์ ศึกษานิเทศก์               กรรมการ
๙.นางสาวปิยะนันท์  หาญสมัคร ครูโรงเรียนสุนทรวัฒนา        กรรมการ
๑๐.นางทองย้อน  จำปามูล ครูโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ        กรรมการ
๑๑.นางศรีประไพ  พรหมมณี ครูโรงเรียนชุมชนบุ่งคล้าวิทยา        กรรมการ๑๒.นางราตรี  พิศโชติ ครูโรงเรียนบ้านยางหวาย        กรรมการ
๑๓.นางวิภัสรา  เชื้อกูล ครูโรงเรียนชุมชนหนองบัวแดง        กรรมการ
๑๔.นางพชนิดา  ผิวสุข ครูโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ        กรรมการ๑๕.นายโกเมศ  ศรีสกุลเตียว ครูโรงเรียนบ้านหนองคอนไทย        กรรมการ
๑๖.นางนวลกนก  สวโต ครูโรงเรียนสุนทรวัฒนา                   กรรมการ
๑๗.นางจินตนา  เทอดเดชาศักดิ์ ครูโรงเรียนบ้านจอก        กรรมการ
๑๘.นางฑิมรพร  ภูมิสถาน ครูโรงเรียนบ้านลาดชุมพล                       กรรมการ
๑๙.นางอุบล  สิงห์อัมพร ครูโรงเรียนบ้านลาดชุมพล                       กรรมการ
๒๐.นางสาวสุภาวดี  ธรรมโชติ ศึกษานิเทศก์               กรรมการ/เลขานุการ
๒๑.นางประภัสสร  สิตวงษ์ ศึกษานิเทศก์          กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ

มีหน้าที่ จัดทำคู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ  ระดับห้องเรียนประถมศึกษา  ปีการศึกษา  ๒๕๕๗

๒. คณะกรรมการจัดทำคู่มือห้องเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย

๑.นายพรภิรมย์   สุทธิกานต์     รอง ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                           ประธานกรรมการ
๒.นายยุทธนาเฉลียวชาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนน้อยแผ่นดินทอง     รองประธานกรรมการ
๓.นายวิชัย  จำพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคงน้ำตับวิทยาคาร          รองประธานกรรมการ                
๔.นางสุนทรีย์  แสงหงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพัฒนาสามัคคี                   กรรมการ  ๕.นายนิมิตร  ฤทธิ์ไธสง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไร่วิทยา                  กรรมการ
๖.นายวิชัย   เพ็ชรเรือง       ศึกษานิเทศก์ หน.กลุ่มงานวัดและประเมินผลฯ              กรรมการ
๗.นายประเสริฐศักดิ์  ขำหินตั้ง ศึกษานิเทศก์               กรรมการ
๘.นายธีระยง  ปิยะปรีชายุทธ ศึกษานิเทศก์               กรรมการ
๙.นายสุนทร  ศรีภิรมย์   ศึกษานิเทศก์               กรรมการ
๑๐.นางนภาพร  พรมแดง ศึกษานิเทศก์               กรรมการ
๑๑.นางสุมนา  ศรีโฉม ครูโรงเรียนบ้านลาดใหญ่         กรรมการ
๑๒.นางนวลมณี  ดีวิเศษสิริ ครูโรงเรียนชุมชนบ้านจอก        กรรมการ๑๓.นางเอมอร  ดอนศรี ครูโรงเรียนบ้านห้วยกนทา                   กรรมการ
๑๔.นางชมพูนุช  เกษแก้ว ครูโรงเรียนบ้านโนนเปลือย         กรรมการ
๑๕.นางสาวเหมียวดี  ภูมิภักดิ์ ครูโรงเรียนบ้านซับชมภู                 กรรมการ
๑๖.นางสาวกัญจา  วาจาดี ครูโรงเรียนบ้านห้วยกนทา                   กรรมการ
๑๗.นายชัยรัตน์  มวลชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันฯ           กรรมการ/เลขานุการ
๑๘.นายอภิชาติ  พรหมฝาย ศึกษานิเทศก์        กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ

มีหน้าที่ จัดทำคู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ  ระดับห้องเรียนมัธยมศึกษา  ปีการศึกษา  ๒๕๕๗
๔. คณะวิทยากร  ประกอบด้วย
๑. นายธนชน  มุทาพร ผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑     ประธานกรรมการ
๒.นายบัญญัติ  เพ็ญจันทร์         รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑ รองประธานกรรมการ
๓.นายวิรัตน์  วิทยานุวัฒน์         รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑     กรรมการ
๔. นายพรภิรมย์   สุทธิกานต์     รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑     กรรมการ
๕.นายกฤตพัฒน์   พลคราม   ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลฯ       กรรมการ
๖.นายชัยรัตน์  มวลชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันฯ  กรรมการ/เลขานุการ
๗.นางสาวุภาวดี  ธรรมโชติ ศึกษานิเทศก์      กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ
๘.นางประภัสสร  สิตวงษ์            ศึกษานิเทศก์      กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ
มีหน้าที่  อบรมให้ความรู้  วางแผนการทำงาน  และเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงให้ความรู้ผู้เข้าร่วมอบรม

๕. คณะผู้ตรวจสอบและพิจารณาความสมบูรณ์ของเอกสาร  ประกอบด้วย
๑.นายวิรัตน์  วิทยานุวัฒน์         รองผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต ๑                  ประธานกรรมการ
๒.นายกฤตพัฒน์   พลคราม   ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลฯ     รองประธานกรรมการ
๓.นางอุไรวรรณ  ทนุพันธ์ ศึกษานิเทศก์                   กรรมการ
๔นายอภิชาติ  พรหมฝาย ศึกษานิเทศก์                 กรรมการ
๕.นายชัยรัตน์  มวลชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันฯ           กรรมการ/เลขานุการ
๖.นางสาวสุภาวดี  ธรรมโชติ     ศึกษานิเทศก์        กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ
๗.นางประภัสสร  สิตวงษ์   ศึกษานิเทศก์        กรรมการ/และผู้ช่วยเลขานุการ

มีหน้าที่    วางแผนการทำงาน  ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเอกสาร







๖. คณะกรรมการจัดทำต้นฉบับ  พัฒนาเอกสารและบรรณาธิการกิจ  ประกอบด้วย
๑.นายชัยรัตน์  มวลชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันฯ               ประธานกรรมการ
๒.นางสาวสุภาวดี  ธรรมโชติ     ศึกษานิเทศก์                                  กรรมการ
๓.นางอุไรวรรณ  ทนุพันธ์ ศึกษานิเทศก์                   กรรมการ
๔.นางประภัสสร  สิตวงษ์   ศึกษานิเทศก์               กรรมการ/และเลขานุการ

มีหน้าที่  จัดพิมพ์ต้นฉบับ พัฒนาเอกสารและบรรณาธิการกิจ  พิสูจน์อักษร  จัดทำปก  และประสานงานต่างๆ
๗. คณะกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี  ประกอบด้วย
๑.นางสุรีพร   โพธิ์งาม               ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์       ประธานกรรมการ
๒.นายสนธยา  ปราบนอก         นักวิชาการการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ                 กรรมการ
๓.นางสมมิตร  ลาภารัตน์       นักวิชาการการเงินและบัญชีปฏิบัติการ                   กรรมการ
๔.นางดวงเนตร  เชื้อวิเศษ     นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ                   กรรมการ
๕.นายสันทัด   ตั้งพงษ์         เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี                   กรรมการ
๖.นายชัยรัตน์  มวลชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันฯ      กรรมการ/เลขานุการ
๗.นางประภัสสร  สิตวงษ์ ศึกษานิเทศก์     กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

มีหน้าที่   ดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อใช้ในการดำเนินการตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ  ปีการศึกษา  ๒๕๕๗ และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นตามโครงการ


ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์  มีประสิทธิภาพและเกิดผลดีต่อทางราชการสืบไป

                 
                  ทั้งนี้ตั้งแต่  วันที่  ๒๓  เดือน  กุมภาพันธ์    พ.ศ. ๒๕๕๘
               
                                                   สั่ง ณ วันที่   ๒๓  เดือน   กุมภาพันธ์      พ.ศ. ๒๕๕๘

                                             (นายธนชน  มุทาพร)
   ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต ๑
(








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น